บ้านคนรักสุนทราภรณ์
สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์
ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล |
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน |
ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น อยู่เป็นขวัญแดนโพธิ์ทองของปวงประชา มิ่งขวัญโพธิ์ทองของชนทั่วหน้า ราษฎร์สุขาก็เพราะพระบารมี ราชาเป็นทั้งมิ่งและขวัญ ข้าอภิวันท์บังคมหวังชมศักดิ์ศรี พระคืนมาเหล่าปวงประชาภักดี พระปิ่นโมลีอยู่เป็นศรีไผท โอ้ลมฝนบนฟ้ามาแล้ว ร่มโพธิแก้วจะพาพฤกษาสดใส ข้าวรพุทธเจ้าชาวไทย ยกกรไหว้แก่ไทยราชันย์ เราน้อมเกล้าเกศีถวายภูมีมอบศิระกราน เทิดบังคมภูบาลเอาไว้เหนือฟ้า โพธิ์ทองของชาวไทย อวยพรชัยให้มหาราชา ช่วยกันเปล่งวาจา ขอทรงพระเจริญ ไชโย |
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
© ร้องนำโดย คุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี
แว่วเสียงเธอ
© เพลงนี้แต่งเมื่อพ.ศ. 2493 เพื่อรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวนิวัติกรุงเทพมหานคร โดยบรรเลงครั้งแรกเมื่อเครื่องบินพระที่นั่งลงจอดที่ดอนเมือง
วรภัทร ยมนา
© ผมเคยได้ยินเพลงนี้ในภาพยนตร์ส่วนพระองค์ครับ
วรภัทร ยมนา
© แต่ผมทราบข้อมูลต่างไปจากคุณวรภัทร ยมนาว่า เพลงนี้แต่งเมื่อปี ๒๔๘๘ บรรเลงและขับร้องครั้งแรกเมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๘ เสด็จนิวัตพระนครจากสวิสทางเครื่องบิน พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระอนุชา (ในหลวงรัชกาลที่ ๙)
ส่วนในปี ๒๔๙๓ นั้นพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเสด็จนิวัตพระนครพร้อมด้วยพระคู่หมั้น (สมเด็จพระราชินี) ทางเรือ ไม่ใช่ทางเครื่องบิน
ยามเช้า
© เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง นำเพลงนี้ เป็นเพลงประกอบการฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ในช่วงปีพ.ศ.๒๔๙๓-๒๕๐๔ ครับ
การ์ฟิลด์
© 1. การเสด็จนิวัติ ในสมัยรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2481 โดยเรือมีโอเนีย รัฐบาลไทย นำเรือหลวงศรีอยุธยา ไปรอรับเสด็จอยู่ที่เกาะสีชัง
2. วันที่ 13 มกราคม 2482 ร.8 เสด็จกลับไปเมืองโลซานน์ วสิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ
3. 5 ธันวาคม 2488 รัฐบาลกราบบังคมทูล ให้ ร.8 เสด็จนิวัติพระนคร อีกครั้ง เพื่อขึ้นครองราชสมบัติ ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี
4. 9 มิถุนายน 2489 ร. 8 ต้องพระแสงปืนเสด็จสวรรคต
5. 9 มิถุนายน 2489 ร. 9 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ พระบรมเชษฐาธิราช
ทรงพระปรมาภิไธย ว่า พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็น พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
6. 19 สิงหาคม 2489 ร. 9 เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
7. 29 มีนาคม 2493 ร. 9 เสด็จนิวัติประเทศไทย เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล
8. 28 เมษายน 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร
9. 5 พฤษภาคม 2493 ร. 9 เสด็จสู่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก / ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
ศรี อยุธยา
© ผมว่าน่าจะแต่งรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ในปี ๒๔๙๔ มากกว่า เพราะ
๑. การเสด็จนิวัติพระนครครั้งนั้น ถือว่า เป็นการเสด็จนิวัติฯ เป็นการถาวรแล้ว คือถ้ากล่าวง่ายๆ คือ กลับมาเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงชนชาวไทยตลอดไป จึงเป็นหลักฐานได้ว่า เพลงนี้น่าจะแต่งสำหรับรับเสด็จในปี ๒๔๙๔ มากกว่า
๒.หากท่านฟังเพลงนี้อย่างเข้าถึง จะเห็นว่า มีการนำท่อนแรกของเพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" มาใช้ในเพลงนี้ ทั้งในช่วงอินโทรของเพลง และในท่อนที่ว่า "โอ้ลมฝนบนฟ้ามาแล้ว" เพราะฉะนั้น ข้อที่ว่า เพลงนี้แต่งรับเสด็จฯ รัชกาลที่ ๘ และพระอนุชาในปี ๒๔๘๘ จึงไม่เป็นความจริง เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว เพลงนี้ก็จะแต่งก่อนเพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" ถึง ๖ เดือนเศษ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้อยู่แล้ว
จากหลักฐาน ๒ ข้อข้างต้น น่าจะพอบอกได้ว่า เพลงนี้แต่งเมื่อใด โดยอาจจะบอกว่าแต่งในการรับเสด็จปี ๒๔๙๓ หรือ ปี ๒๔๙๔ ก็ได้ แต่เนื่องจาก ในประวัติของเพลงนี้กล่าวว่า บรรเลงเมื่อเครื่องบินพระที่นั่งจอดที่สถานีดอนเมือง จึงขอสรุปว่า เพลงนี้แต่งเพื่อรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ในปี ๒๔๙๔ แน่นอน
การ์ฟิลด์
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๓
การ์ฟิลด์
© ดิฉันชอบเพลงนี้มาก เมื่อเร็วๆนี้ ไม่ทราบว่าทีวีช่องไหน นำเทปที่บันทึกการร้องของคุณครูเพ็ญสรี พุ่มชูศรี มาเปิด ฟังแล้วไพเราะมาก ไม่ทราบว่าจะหาซื้อ CD เพลงนี้ได้ที่ไหนค่ะ ถ้าทราบช่วยบอกด้วยนะค่ะ
ศุภวรรณ์ ชูแสงทอง
© ยกกรไหว้ "แด่" ไทยราชันย์
vip94
© มิ่งขวัญโพธิ์ทองผองชนทั่วหน้า
vip94
© มิ่งขวัญโพธิ์ทองผองชนทั่วหล้า...
vip94
© ผมเห็นว่า เพลงนื้แต่งหลังปี 2494 คือพ.ศ 2537ครับ ก่อนพระราชพิธีกาญจนาภิเษกครับ
เรารักในหลวง
© เพลงนื้บรรเลงครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2537
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี นำหมู่
เรารักพระเจ้าอยู่หัว
© อยากทราบข้อมูลที่แท้จริงค่ะ จะได้นำไปขยายให้ถูกต้อง ค่ะ รักเพลงนี้มาก ๆ ทั้งเนื้อร้องและทำนอง แต่่ทำไมไม่ค่อยมีสื่อใด ๆ นำออกเผยแพร่เลบ
ทัศนี ลือกลาง
© พระเจ้าอยู่ัวและพระราชินีพร้อมด้วยพระธิดาพระองค์ใหญ่ เสด็จนิวัตเมืองไทยเป็นการถาวรเม่ือเดือนตุลาคม 2494 ฉนั้น เพลงนี้น่าจะแต่งเมื่อเดือนต.ค.2494 เช่นกัน(ท่านแต่งเร็วมาก บางเพลงทั้งทำนองและเนื้อร้องท่านแต่งเสร็จภายในครึ่งวัน) ในหลวงและสมเด็จฯเสด็จโดยทางเรือโดยสารชื่อ "ซีแลนเดีีีีีีีีีีีีีีีย" และกองทัพเรือนำเสด็จโดยเรือรบ เสด็จถึงท่ราชวรดิฐตอนสายวันที่ 24 ต.ค. 2494 ฉนั้น วงดนตรี กปส จะไปบรรเลงที่ท่าอากาศยานดอนเมืิงได้อย่างไร? อนึ่ง ที่ว่า วง กปส ไปบรรเลงรับเสด็จ.....ไม่ว่าที่ดอนเมืองหรือที่ท่าราชวรดิฐ.....ก็ไม่น่าเป็นไปได้ นอกจากกองทัพบรรเลงเพลงสรรเสรฺญพระบารมีเท่านั้น เมื่อทรงรับความเคารพเสร็จแล้วก็คงเสด็จไปที่พระราชวังทันที น่ขนาดเวลาเพิ่งผ่านไป50กว่าปียังแต่งเรื่องเลอะเทอะเช่นนี้ สงสัยว่านานไกว่านี้จะเล่าขานกันเลอะเทอะขนาดไหน? น่าเป็นห่วงจริงๆ เพลงนี้อัดครั้งแรกก็คงปี2494 คุณเพ็ญศรีนำหมู่ ต่อมาไม่นานราวปี2495 คุณเพ็ญศรีก็ลาออกจาก กปส เห็นด้วยกับคุณ ทัศนี ลือกลาง ที่ว่า เพลงนี้ไพเราะมาก แต่ไม่ใคร่มีสื่อใดๆนำมาเผยแพ่ร่ คงเป็นเพราะเลงเก่ามากตั้งกว่า60ปีแล้ว และคนที่ทำงานสื่อก็เกิดไม่ทัน ดิฉันมีต้นฉบับค่ะ แต่โพสตไม่เป็น คูณลองเข้ายูทูปสิคะ อาจมีต้นฉบับ ต้องยอมรับว่าที่มาอัดใหม่รุ่นหลังเพราะสู้ต้นฉบับไม่ได้
อนาลยา
© ...แด่ไทย"ราชัน"
jetdow
© เพลงนี้ไพเราะมากจริงๆ ค่ะ ดิฉันเคยร้องนำหมู่เมือไปทัศนศึกษาที่จังหวัดนราธิวาส บนเวทีโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหว้ดนี้ค่ะ ปี 2513 นานมากๆแล้วค่ะ แต่ไม่เคยลืมเพลงนี้เลยตั้งแตเป็นเด็กซึ่งยังไม่ได้ไปร้องนำหมู่จวบจนทุกวันนี้ เป็นเพลงที่ดิฉันประทับใจมากค่ะ และพยายามสอนเด็กหลายๆ คนให้ร้องให้ได้ค่ะ ซึ่งบางคนก็ทำได้สำเร็จแล้วค่ะ บางคนก็ยังเริ่มสอนค่ะ เพราะเด็กบางคนไม่เคยได้ยินมาก่อนค่ะ ดิฉันยังบอกเด็กๆ ว่า ครูเชื่อว่าคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ของลูกเคยได้ยินได้ฟังเพลงนี้แน่นอน และลูกร้องเพลงร่วมกับท่านได้ ท่านจะดีใจด้วยเพราะหลานร้องเพลงที่ไพเราะ จับใจเพลงนี้ได้ค่ะ ดิฉันสัญญาว่าจะสอนเด็กๆหลายๆ คนที่มีโอกาสให้ซาบซึ้งในเพลงนี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
คนไทยที่รักและเทิดทูนในหลวงรัชกาลที่ 9
© ขอร่วมแสดงความเห็นในบทเพลงนี้ด้วยคนนะครับ
๑. เป็นไปได้หรือไม่ว่า เพลงนี้แต่งขึ้นครั้งแรก ในคราวเสด็จนิวัติพระนครของในหลวง ร.๘ เพราะจากเนื้อเพลงในช่วงแรก มีคำบางคำที่ทำให้ผมคิดว่า น่าจะแต่งเพื่อแสดงความยินดีที่สถาบันกษัตริย์ ได้กลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากการปฏิวัิติ ปี ๒๔๗๕ แล้วคณะปฏิวัติไม่สามารถปกครองประเทศได้ หลังจากที่ในหลวง ร.๗ สละราชสมบัติ เปิดทางให้ทหารเข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนก็ขาดที่พึ่ง หมดศรัทธา จึงได้มีคำว่า "พระคืนมา" เหล่าปวงประชาภักดี พระปิ่นโมฬีอยู่เป็นศรีผไท แล้วครูแก้วก็แต่งจบเพียงเท่านั้น ดนตรีก็เป็นแบบหนึ่ง
๒. ครั้นเมื่อครั้งที่ในหลวง ร.๙ เสด็จนิวัติพระนครพร้อมสมเด็จพระราชินี ครูแก้ว และ ครูเอื้อ ก็นำเพลงเดิม มาแต่งเพิ่มต่อจากเดิม จึงได้มีเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวง ร.๙ นำมาต่ิเติมและเริ่มต้นของเพลงที่ว่า "โอ้ลมฝนบนฟ้ามาแล้ว" ร่มโพะิ์แก้วจะพาพฤกษาสดใส.... เพื่อเป็นการเทิดทูนพระอัจฉริยภาพทางด้านการดนตรีของพระองค์ด้วย พร้อมทั้งเปลี่ยนทำนองให้แตกต่างจากทำนองเดิมในเนื้อเพลงที่แต่งในครั้งแรก เพื่อสื่อให้ทราบว่า เพลงนี้แต่งใน ๒ ช่วงเวลา ๒ รัชสมัย ๒ อารมณ์ กล่าวคือ อารมณ์เพลงในช่วงแรก เป็นความดีใจที่คนไทยได้กลับมามีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศอีกครั้ง ทำนองเพลงจึงเศร้าเล้าดีใจ ส่วนในช่วงที่ ๒ ที่ในหลวง ร.๙ เสด็จนิวัติ ทำนองเพลงจึงเป็นความดีใจ ฮึกเหิม ปิติ (ตอนท้ายเพลงที่วงสุนทราภรณ์ร้องจบยังมีร้องว่า ไชโย ไชโย (ผมได้ดูทางทีวีสมัยก่อน)
๓. ถ้าถามผมว่าทำไมจึงวิเคราะห์เช่นนั้น ก็ขอบอกว่า
๓.๑ ผมสนใจในการแต่งเนื้อเพลงของวงสุนทราภรณ์เป็นอย่างมาก เพราะทุกคำที่นำมาใช้นั้น สละสลวย ลึกซึ้ง แอบแฝง ซ่อนเร้น ถ้าฟังให้ดีจะเห็นว่าผู้แต่งเนื้อเก่งมาก
๓.๒ ทำนอง จะบ่งบอกถึงอารมรณืเพลงในแต่ละเพลงได้อย่างดีเลิศ
๓.๓ เราจะเห็นว่ามีบางเพลง เมื่อวันเวลาผ่านไป ผู้แต่งก็สามารถแต่เนื้อต่อท้ายเพลงเดิมได้อย่างแนบเนียนจนแยกไม่ออกว่าแต่งพร้อมกัน หรือ แต่งเติมใหม่ เช่นเพลง "กรุงเทพราตรี" / บ่านนา / ไพรพิศดาร เป็นต้น
๔. ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมจึงคิดว่า เพลง "ราชาเป็นสง่าแห่งแค้วน" จึงน่าจะเป็นเพลงที่แต่งและร้องใน ๒ ห้วงเวลา คือ ช่วงแรก(ทำนองช้า) เป็นความปลาบปลื้มที่ในหลวง ร.๘ เสด็จนิวัติ และ ช่วงที่ ๒ (ทำนองเพลงเร็ว) เป็นช่วงที่แต่งเพิ่มเพื่อแสดงความยินดีที่ในหลวง ร.๙ เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งหนึ่ง
สมเกียรติ CP.
เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น