บ้านคนรักสุนทราภรณ์
สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์
บ้านเรือนเคียงกัน
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล |
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน |
บ้านเรือนเคียงกันแอบดูทุกวันมองเมียง ถึงหากอยู่เคียงห่างกันสักเพียงวาเดียว แต่ดูไกลกันไม่เคยสัมพันธ์กลมเกลียว เห็นหน้าหน่อยเดียวเกิดความรักเหนี่ยววิญญาณ์ อยู่ชิดติดกันแต่ความสัมพันธ์ขัดขวาง เขตรั้วกั้นกลางสูงดั่งจะขวางนัยน์ตา ขอบรั้วปิดบังก็ยังเห็นกันได้หนา ได้เห็นหน้าตาก็เวลาบังเอิญ แต่บางเวลาดั่งเทวดาดลใจ พบหน้าเข้าได้ติดตรึงหัวใจพลอยเพลิน แต่มีบางวันสบตาพร้อมกันเผชิญ แล้วกลับสะบัดเมินปล่อยให้ฉันเปิ่นหน่วงเหนี่ยว บางครั้งสบตาแหละโปรยยิ้มมาให้ฉัน ระทึกตื้นตัน ฉันเก็บไปฝันคนเดียว ตื่นเช้าชื่นบาน อกใจสำราญแลเหลียว ได้ฝันหน่อยเดียวเสียวดวงใจรอนรอน บ้านเรือนเคียงกันไม่เคยสัมพันธ์อันใด เหมือนหนึ่งอยู่ไกลจิตใจชักพาอาวรณ์ อยู่กันนานมายิ่งพาหัวใจรอนรอน เช้าตรู่ตื่นนอนแอบดูเสียก่อนสิ่งอื่น บางครั้งชื่นชวนด้วยเธอยิ้มยวนสดใส สุดแสนสุขใจเหมือนต่ออายุให้ยืน บางครั้งบึ้งตึงต้องครวญคะนึงให้ฝืน แต่เช้าแหละคืนฉันไม่ชื่นใจเลย เมื่อยามวังเวงได้ยินเสียงเพลงลอยลม รู้สึกชื่นชมแอบฟังนิยมชมเชย อยู่กันนานมาไม่เคยพูดจากันเลย วิตกอกเอยไม่เคยคิดบ่นเบื่อหน่าย บางครั้งแปลกครัน จ้องมองหากันไม่เห็น แต่เช้าตกเย็นแม้ว่าไม่เห็นคงตาย ตื่นเช้าเหม่อมองด้วยความรักปองไม่หาย จะทักจะทายฉันก็อายเธอจัง |
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
© เพลงบ้านเรือนเคียงกัน หรือ บ้านใกล้เรือนเคียง เป็นเพลงที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน แต่งขึ้นไว้จีบคุณอาภรณ์ เพราะบ้านอยู่ติดกัน ต้องแอบมองผ่านรั้วบ้าน ครูแก้วเป็นผู้เขียนคำร้อง เวอร์ชั่นแรก คุณสุปาณี พุกสมบุญ ขับร้องไว้ หาฟังได้จากแผ่นที่ระลึกงาน ๘๐ ปี สุปาณี พุกสมบุญ ส่วนเวอร์ชั่นที่ ๒ คุณศรีสุดา ขับร้อง น่าจะมีอยู่ใน ตลับทองสุนทราภรณ์ ที่บริษัทเมโทร ทำขายอยู่ในปัจจุบันครับ
เทพกร บวรศิลป์
© คุณรวงทอง ทองลั่นธม
คุณรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
บันทึกเสียง
วรวิทย์
© จังหวะบันนี่ฮอป
สุนทรีย์บันเทิง
© ทำนองเพลงไทยเดิมสำเนียงปักษ์ใต้ ชื่อ ข่า
ขุนศึกอยุธยา
© เพลงนี้ไม่เคยฟัง แต่ดูเนื้อหาก็น่าจะไพเราะดีค่ะ
@_@สวย,น่ารัก@_@
© ชอบเพลงนี้มากๆเลยค่ะ เพลงของสุนทราภรณ์เคยฟังมาเกือบทุกเพลงแล้วค่ะ
เด็กน้อย
© อยากหั้ยมีดนตรีเเละเนื้อร้องด้วยจังค่ะอยากฟัง หาซื้อยากจังสุนทราภรณ์ เเกรมมี่อะค่ะ
เอามาเต้นลีลาศ
© ฟังเพลงนี้แล้วสนุกมากๆ
เพราะมากๆเลยค่ะ
ฟังของคุณรุ่งฤดี
เสียงดีมากๆๆๆ
เด็กรุ่นใหม่ฟังเพลงสุทราภรณ์
© บางครั้งสบตา"แหละโปรยยิ้มมาให้ฉัน"
น่าจะเป็น "แอบโปรยยิ้มมาให้ฉัน"
เจษฎา ช.
© หาเนื้อเพลงนี้มานานมากแล้วเพิ่งเจอ ดีใจจังเลย และขอให้มีแบบนี้ตลอดไปนะ น่าจะเป็น แหละโปรยยิ้มมาให้ฉัน เคยฟังแต่คุณศรีสุดาร้อง คนอื่นร้องยังไม่เคยได้ยินเลย อาจจะไม่ค่อยได้มีโอกาสฟัง เลยไม่ค่อยรู้เรื่องกะเขาค่ะ
วาสนา กลีบเมฆ wasana@tab.or.th
© My favourite song,when I was teen, and now and forever...
ruechai@gmail.com CPH
© เพลง นี้ คุณสุปาณี ได้บันทึกเสียง เป็นต้นฉบับ
จากนั้น คุณศรีสุดา ได้นำมาบันทึกเสียงขับร้องใหม่
แฝงนาม
© คุณสุรพล วันประเสริฐ ก็เป็นอีกท่านที่บันทึกเสียงเพลงนี้
การ์ฟิลด์
© เพลงนี้เพราะมากที่สุด หนูเต้นเพลงนี้ตั้งแต่เมื่อวานวันที่ 25 ที่ ร.ร บางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)เพลงนี้มีทำนองที่ไพเราะที่หนูเคยได้ยินมาคะ
jujee
© เพลงนี้ไม่เพราะเอาสะเลย
มิ้ว
© เพลงสนุกสนาน ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตรักของ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ที่พวกเราคุ้นหูกันดี อีกเพลงหนึ่ง ก็คือ เพลงบ้านเรือนเคียงกัน ที่ได้ยินได้ฟังครั้งใด มักจะอดใจไว้ไม่ได้ และหากมีการเกาะเอวกันเป็นวงกลมกระโดดเต้นไปตามจังหวะและทำนองดนตรี ก็ยิ่งสนุกได้อารมณ์มาก
... เพลงนี้ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เข้าใจเลือกใช้คำ เพื่อบรรยาย อารมณ์ และ บรรยากาศ ของเพลง ที่มี ความหมาย ความไพเราะ สามารถถ่ายทอด ความรู้สึก ของผู้ร้อง ซึ่งน่าจะเป็น นักร้องชาย มากกว่า นักร้องหญิง
ตามตำนาน ที่เล่าขานกันว่า เพลงบ้านเรือนเคียงกัน เพลงนี้ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ตั้งใจแต่ง เพื่อสะท้อนถึง ความรักที่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน มีต่อ อาภรณ์ กรรณสูต ธิดาสาวของ พระยาสุนทรบุรี เจ้าเมืองสุพรรณบุรี ในยุคนั้น โดยแสดงออกถึง อารมณ์ ความรู้สึก ได้อย่างชัดเจน จนมองเห็นภาพ ที่ว่า
เห็นหน้า หน่อยเดียว เกิดความรัก เหนี่ยววิญญา
พบหน้าเข้าได้ ติดตรึงหัวใจ พลอยเพลิน
แล้วกลับ สะบัดเมิน ปล่อยให้ฉันเปิ่น หน่วงเหนี่ยว
บางครั้ง สบตาและโปรยยิ้มมา ให้ฉัน ระทึก ตื้นตัน ฉันเก็บไปฝันคนเดียว
ตื่นเช้าชื่นบาน อกใจสำราญแลเหลียว ได้ฝันหน่อยเดียว เสียวดวงใจ รอนรอน
ตื่นเช้า ตื่นนอน แอบดูเสียก่อน สิ่งอื่น
การเลือกใช้คำ เพื่อให้เกิดสัมผัส และ ความไพเราะ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ก็เลือกมาใช้ได้อย่างลงตัว เช่น
มอง เมียง / (ถึง) หาก (อยู่เคียง) ห่าง (กัน) / ไกล กัน / กลม เกลียว / เห็น หน้า หน่อย (เดียว) / ขัด ขวาง / กั้น กลาง / ดั่ง (เทว) ดา ดล (ใจ) / ติด ตรึง (หัวใจ) พลอย เพลิน / พร้อม (กัน) เผชิญ / ปล่อย (ให้ ฉัน) เปิ่น หน่วง เหนี่ยว / ตื้น ตัน ตื่น (เช้า) / (ตื่น) เช้า ชื่น (บาน) / (สำ) ราญ แล เหลียว / ได้ (ฝัน หน่อย) เดียว
(เสียว หัว ใจ) รอน รอน / จิต ใจ / (เช้า) ตรู่ ตื่น (นอน) / ชื่น ชวน / ยิ้ม ยวน / สด ใส / สุด แสน สุข (ใจ) / บาง (ครั้ง) บึ้ง ตึง / (ต้อง ) ครวญ คะ (นึง ให้ฝืน) / ฉัน (ไม่) ชื่น (ใจ เลย) / วัง เวง / ลอย ลม / ชื่น ชม / ชม เชย / อก เอย / (ไม่เคย นึก) บ่น เบื่อ (หน่าย) / ไม่เคย) นึก (บ่น เบื่อ) หน่าย / แม้ (ว่า) ไม่ (เห็น) / เหม่อ มอง / จะทัก จะทาย
ในขณะเดียวกัน ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ยังใช้ คำว่า บางครั้ง ซ้ำกันถึง ๔ วรรค เพื่อตอกย้ำ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ว่า
บางครั้ง สบตา และโปรยยิ้มมา ให้ฉัน ระทึกตื้นตัน ฉันเก็บไปฝัน คนเดียว
บางครั้ง ชื่นชวน ด้วยเธอยิ้มยวน สดใส สุดแสนสุขใจ เหมือนต่ออายุ ให้ยืน
บางครั้ง บึ้งตึง ต้องครวญคะนึง ให้ฝืน แต่เช้าและคืน ฉันไม่ชื่น ใจเลย
บางครั้ง แปลกครัน จ้องมองหากัน ไม่เห็น แต่เช้าตกเย็น แม้ว่าไม่เห็น คงตาย
หากสังเกตดูให้ดี ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่ง เพลงบ้านเรือนเคียงกัน ตามทำนอง และ จังหวะ ที่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน กำหนดให้ เหมือนเป็น กลอน ๑๐ ( วรรคละ ๑๐ คำ ) โดย เดินเป็นจังหวะ ๔ ๔ ๒ หรือ ๒ ๒ ๔ ๒ ได้อย่างสอดคล้องลงตัว เช่น
บ้าน / เรือน / เคียง / กัน - แอบ / ดู / ทุก / วัน - มอง / เมียง
๑ ๒ ๓ ๔ / ๕ ๖ ๗ ๘ / ๙ ๑๐
------------- ๔ ------------ / ---------- ๔ ----------- / --- ๒ ---
บาง / ครั้ง แปลก / ครัน จ้อง / มอง / หา / กัน ไม่ / เห็น
๑ ๒ / ๓ ๔ / ๕ ๖ ๗ ๘ / ๙ ๑๐
--- ๒ --- / ----- ๒ ----- / ----------- ๔ ----------- / --- ๒ ---
...
จะพบว่า เพลงในแนวสนุกสนาน ที่เป็นผลงานของ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล และ ครูเอื้อ สุนทรสนาน มักจะเป็น เพลงที่แต่งให้นักร้องฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย นินทา หรือต่อว่าต่อขาน กันอยู่เสมอๆ ยิ่งได้นักร้องหญิงเสียงดี เปรี้ยวจี๊ด อย่าง สุปาณี พุกสมบุญ โดยมี เพ็ญศรี พุ่มชูศรี หรือ ชวลีย์ ช่วงวิทย์ เป็นคู่หู ในระยะแรกๆ ต่อมาก็ได้ ศรีสุดา รัชตะวรรณ มาเป็นนักร้องนำ และมี วรนุช อารีย์ ช่วย ส่วนนักร้องชายนั้น เลิศ ประสมทรัพย์ จะเป็นตัวชูโรง โดยมี วินัย จุลละบุษปะ หรือ สมศักดิ์ เทพานนท์ เป็นตัวช่วย นานทีปีหน สุนทราภรณ์ ก็มาร่วมขับร้องด้วย ทำให้เพิ่มรสชาติมาก เช่น เพลงปรึกษารัก เป็นต้น
golf
© ฟังไม่เบื่อ
อภิกัลยา คณานุรักษ์
© จังหวะอะไรครับ
รชฏ
© เพลงนี้แต่งปีไหนค่ะ
นิสิตม.พะเยา
© 2491 นะคะ เพลงนี้น่าจะยุคแรก
สีสุดา
© เพลงนี้ต้นฉบับขับร้องโดยคุณสุปาณี พุกสมบุญ แต่คุณศรีสุดานำมาบันทึกเสียงใหม่จนคนคิดว่าเพลงนี้เป็นเพลงของคุณศรีสุดาไปซะแล้ว(เช่นเดียวกันกับเพลงมองอะไร)
ศุภวัทน์ แพ่งอ่ำ
เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงบ้านเรือนเคียงกัน