บ้านคนรักสุนทราภรณ์

สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์


หิมพานต์

บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
     คำร้อง ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
  งามเอ๋ยงามรื่น
งามสมกลมกลืนเพียงพื้นพิมาน
งามหิมพานต์ดังอุทยาน
พุตตานแห่งพรหม

ชมเอ๋ยชมชื่น
ชมพฤกษ์ไพรยืน พร่างพื้นพนม
ชมหงส์เหินลม
ลีลาศเริงรมย์ ภิรมย์สุรางค์

กามเทพพารตี
เหลิงฤดี ลีลาไปในไพรกว้าง
เริงศรชัยเฉี่ยวไพรพฤกษ์พลาง
เล็งเนื้อนาง กวางละมั่งคลั่งไคล้ตาม

ทรวงเอ๋ยทรวงซ่าน
ยามฤดีดาล สะท้านศรกาม
ลางหรูดูงาม ลางกลับดูทราม
เพราะกามก่อกวน
เนื้อเพลงในห้องบทเพลงได้รับความอนุเคราะห์จากสมาชิกที่รักในบทเพลงสุนทราภรณ์
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com

© เอื้อเฟื้อโดย... นิมิตฯ
ผู้ขับร้อง : บุษยา รังสี
ลำนำเพลง คลิกที่นี่
เกร็ดเพลง


© บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดย บุษยา รังสี
กังหันลม
© จังหวะ บีกิน
วรวิทย์
© ศรวณี โพธิเทศ บันทึกเสียงอีกครั้ง
วรวิทย์
© "ป่าหิมพานต์" ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขาหิมพานต์ หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า “หิมาลายา” นั้นเป็นคำที่ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสถาน ที่ๆ ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๐ ไมล์ หรือ ๑๖ กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด มีสระใหญ่ ๗ สระคือ ๑ สระอโนดาต ๒ สระกัณณมุณฑะ ๓ สระรถการะ ๔ สระฉัททันตะ ๕ สระกุณาละ ๖ สระมัณฑากิณี ๗ สระสีหัปปาตะ บรรดาสระใหญ่ทั้ง ๗ นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง ๕ ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอด มีส่วนสูงและสัณฐาน ๒๐๐ โยชน์ กว้างและยาวได้ ๕๐ โยชน์
ในป่านี้เต็มไปด้วย สัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแต่แปลกประหลาด ต่างจากสัตว์ที่เรารู้จัก เราได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น ๑๕ ประเภทดังนี้
+ สัตว์ประเภทกิเลน
- กิเลนจีน
- กิเลนไทย
- กิเลนปีก
+ สัตว์ประเภทกวาง
- มารีศ
- พานรมฤค
- อัปสรสีหะ
+ สัตว์ประเภทสิงห์
- บัณฑุราชสีห์
- กาฬสีหะ
- ไกรสรราชสีห์
- ติณสีหะ
- เกสรสิงห์
- เหมราช
- คชสีห์
- ไกรสรจำแลง
- ไกรสรคาวี
- ไกรสรนาคา
- ไกรสรปักษา
- โลโต
- พยัคฆ์ไกรสร
- สางแปรง
- สกุณไกรสร
- สิงฆ์
- สิงหคาวี
- สิงหคักคา
- สิงหพานร
- สิงโตจีน
- สีหรามังกร
- เทพนรสีห์
- ฑิชากรจตุบท
- โต
- โตเทพสิงฆนัต
- ทักทอ
+ สัตว์ประเภทม้า
- ดุรงค์ไกรสร
- ดุรงค์ปักษิณ
- เหมราอัสดร
- ม้า
- ม้าปีก
- งายไส
- สินธพกุญชร
- สินธกนธี
- โตเทพอัสดร
- อัสดรเหรา
- อัสดรวิหค
+ สัตว์ประเภทแรด
+ สัตว์ประเภทช้าง
- เอราวัณ
- กรินทร์ปักษา
- วารีกุญชร
- ช้างเผือก
+ สัตว์ประเภทวัวควาย
- มังกรวิหค
- ทรพี / ทรพา
+ สัตว์ประเภทลิง
- กบิลปักษา
- มัจฉานุ
+ สัตว์ประเภทสุนัข
+ สัตว์ประเภทนก
- อสูรปักษา
- อสุรวายุพักตร์
- ไก่
- นกการเวก
- ครุฑ
- หงส์
- หงส์จีน
- คชปักษา
- มยุระคนธรรพ์
- มยุระเวนไตย
- มังกรสกุณี
- นาคปักษี
- นาคปักษิณ
- นกหัสดี
- นกอินทรี
- นกเทศ
- พยัคฆ์เวนไตย
- นกสดายุ
- เสือปีก
- สกุณเหรา
- สินธุปักษี
- สีหสุบรรณ
- สุบรรณเหรา
- นกสัมพาที
- เทพกินนร
- เทพกินรี
- เทพปักษี
- นกทัณฑิมา
+ สัตว์ประเภทปลา
- เหมวาริน
- กุญชรวารี
- มัจฉนาคา
- มัจฉวาฬ
- นางเงือก
- ปลาควาย
- ปลาเสือ
- ศฤงคมัสยา
+ สัตว์ประเภทจระเข้
- กุมภีร์นิมิต
- เหรา
+ สัตว์ประเภทปู
+ สัตว์ประเภทนาค
+ สัตว์ประเภทมนุษย์
- คนธรรพ์
- มะกาลีผล
ที่มา "www.himmapan.com"



สุนทรียเกษม
© วรรคแรกของท่อนที่สาม กามเทพภารตี เข้าใจว่าผิดนะครับ
ภารตี คือหญิงอินเดีย ที่ถูกน่าจะเป็นกามเทพพารตี คือพระกามเทพพาพระชายาคือ นางรตีเที่ยวชมป่า นางรตี คือพระชายาของพระกามเทพในเทววิทยาอินเดียครับ เป็นเทพีแห่งความรัก รตี แปลว่าความรัก ส่วนพระกามเทพ คือเทพแห่งความปรารถนา
อินทุกร
© นมยาย
นมยาน
© เป็นเพลงที่บรรยายถึงป่าหิมพานต์ ตามความเชื่อว่ามีอยู่จริง
ด.ช.ภาณุพงศ์ ไชยมาตร
© ชื่นชอบมากค่ะ
พรชนก
© จะต้องร้องเพลงหิมพานต์แบบไม่ลดคีย์ค่ะ อาจารย์ไม่ให้ใช้เสียงหลบด้วย ต้องเป็นเสียงเต็มหมด ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ว่าควรทำยังไง
ผู้ขอความช่วยเหลือ
© เพลงนี้ได้ยินตั้งแต่เด็กชอบมาก ฟังแล้วจินตนาการเห็นภาพเลยครับ ถ้าฟังกลางคืนยิ่งไพเราะจับใจ
โจ
© ฃอบเพลงนี้มานาน ฟังไพเราะและได้จินตนาการมาก ๆ ฟังแล้วสบายใจดีมาก
นิติธร
© ฟังเพลงได้ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=wjNr_qNwCmE
โก๋หลังวัด
© หามาตั้งนานแล้วค่ะ เพลงนี้ ชอบมากค่ะ เพราะจริง ๆ เลย การได้ฟังคนรุ่นใหม่ร้อง ทำให้เราสามารถกลับมาหาเพลงที่คนรุ่นเก่าเจ้าของเวอร์ชั่นร้องได้ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ สอยไปแล้วนะคะ
fannyknit
© ชรัมภ์ เทพชัย นำมาอัดเสียงอีกครั้ง ได้ความไพเราะไปอีกแบบครับ
สมชาย
© เป็นเพลงแรกสุดของคุณปาณิชชา วัฒนานุกุล ที่เธอร้องกับวงดนตรีสังคีตผสม
การ์ฟิลด์
© ชอบมากเลยค่ะ ความหมายมองเห็นภาพเลยค่ะ โดยเฉพาะภาเพลงสวยมากค่ะ ชื่นชมคนแต่งเนื้อร้องและทำนองค่ะ
คิตตี้
© ชอบฟังเพลงแนวนี้ค่ะ ตั้งแต่เด็กเลย ไม่ชอบฟังเพลงเหมือนวัยรุ่นทั่วไป ฟังแล้วได้จินตนาการดีค่ะ โดยเฉพาะภาษาที่สวยงามของบทเพลงค่ะ
ลูกเต๋า
© ชอบเต้นลีลาศเพลงนี้มากมากเลย
ล้านนา
© ลางหรูดูงาม ร่างกลับดูทราม
saebww22
© เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เคยขับร้องเพลงนี้
การ์ฟิลด์
© ชอบเพลงนี้มาก กำลังหัดร้องอยู่ น่าจะร้องได้ แต่ไม่รู้ว่าจะไพเราะหรือเปล่า
ขวัญ
© ทราบว่าเพลงนี้มีอีก 3 เพลงที่เป็นชุดเดียวกัน ไม่ทราบมีเพลงอะไรบ้างครับ
abichada
© ได้อ่านบล้อคเกอร์ท่านหนึ่ง ตีความเพลงนี้ไว้ น่าสนใจมาก ในท่อน สาม และ สี่ ของเพลง กามเทพพาระดี ชมป่าหิมพานต์ เริงศรชัยเฉี่ยวไพรพฤกษ์พลาง เล็งเนื้อนางกวางละมั่งคลั่งไคล้ตาม "นาง"หมายถึงนางรตี ถูกศรของกามเทพ ซึ่งมีฤทธิ์มาก แม้แต่สัตว์ต่างๆยังต้องปั่นป่วนไปด้วย ทรวงเอยทรวงซ่าน ยามฤดีดาลสะท้านศรกาม หมายถึงนางระตี ถูกฤทธิ์ศร ลางหรูดูงามลางกลับดูทราบด้วยกามก่อกวน หมายถึง ความรัก ย่อมจะมีความสวยงาม และความทุกข์เกิดขึ้นพร้อมกันไป
อำนาจ รักษ์งาน

เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงหิมพานต์