บ้านคนรักสุนทราภรณ์
สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์
หนองบัว
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
คำร้อง เล็ก โตปาน |
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน |
ลมเย็นพลิ้วพัดปลิวลิ่วมา แนวไม้โพ้นไกลสุดตา ดูเหมือนว่าเป็นไพรสณฑ์ เห็นบึงน้ำนองฉันมองน้ำวน ไม้ใบที่หล่น พลิ้ววนร่วงดิ่งลงไป จวนสลัวหนองบัวช่างงาม มองเห็นวิมานเมฆยามลอยฟ้าเด่นดูสดใส น้ำวนพลิ้วรัวพัดบัวพัดใบ คละลอยลิ่วไป เคลิ้มในภาพงามเย็นตา * ราตรีเพิ่งเยือนเห็นเด่นเดือนเหมือนจิตเรา น้ำงามด้วยเงาจากฟ้า ดวงบนนั่นไกลนักเกินจักเอื้อมคว้า เดือนแก่นนี้มาให้ชม ** ธารนามพ้องหนองบัวแห่งใด ไม่เหมือนหนองบัวที่ใจเรานี้ได้เคยสุขสม ถึงตัวร้างไปหัวใจขอจมหนองบัวรื่นรมย์ หนองบัวที่ชมจันทร์แมน ( ซ้ำ* และ**) |
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
© เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีชื่อ เพลงได้บรรยายความงดงามของหนองบัวแห่งนี้ในยามค่ำคืนได้งดงามทีเดียว เพลงนี้ขับร้องบันทึกแผ่นเสียงโดย บุษยา รังสี
หนองบัว อยู่ในอำเภอดอยสะเก็ด เยื้องๆทางเข้าเขื่อนแม่กวง ก่อนถึงจะเป็นเนิน พอลงเนินมองไปทางขวามือจะเห็นบึงขนาดย่อมๆ มับัวเต็มไปหมด หน้าฝนจะเห็นบัวบานสีแดงบ้าง ชมพู ขาว บานเต็มบึง จะสวยมากตอนที่มีแสงแดดอ่อนๆ เช้าๆ จะมีผีเสื้อสีสวยๆ บินตอมดอกบัว ดูน่ารักจริงๆ พอลมพัดมากลีบก็ลู่สะบัดพริ้วไปตามลม ถ้านั่งอยู่ใต้ลมจะหอมดอกบัวกลิ่นอ่อนๆ ที่โชยมาจาก "หนองบัว"
จาก หนังสือสุนทราภรณ์รำลึก เล่มที่ 28 เสรีเซ็นเตอร์ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2539
กังหันลม
© ผมสงสัย ตอนจบของเพลง "หนองบัวที่ชมจันทร์แมน" หรือ จันทร์แรม .. และหากเป็นจันทร์แมน...เป็นสถานที่หรือเปล่า ...
ครูปัน
© แมน เป็นภาษาเมือง แปลว่า โผล่ ครับผม
ปู่นาวาธิปต์
© "แมน" น่าจะเป็นภาษาโบราณที่มีใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยา หรืออาจจะเก่ากว่านี้ ซึ่งใช้ในความหมายว่า กลม พระจันทร์แมน ก็น่าจะหมายความว่า
พระจันทร์กลม ครับ
พงศ์รภัส
© คำว่า จันทร์แมน น่าจะมีความหมายที่ดูอ่อนหวานในความรู้สึกของผู้แต่ง
พลอยสวย
© "จันทร์แมน" ในฐานะที่เป็นคนเหนือและมีความหลังกับเพลงนี้ค่อนข้างมาก จันทร์แมน หรือ ทางเหนือมักจะพูดกันว่า "พระจั๋นแมน" แปลว่า พระจันทร์โผล่จากขอบฟ้าครับ
ป่าเหนือ
© จังหวะสโลว์
ก
© แมน แปลว่า โผล่ ตามภาษาของทางเหนือ อย่างที่ปู่นาวาธิปต์ บอกไว้นะถูกแล้วครับ
คนหนองบัว
© I love this song the most. Khun Busya is the best for this song.
Preecha
© คุณรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ได้ร้องบันทึกเสียงอีก 2 ครั้ง
ครั้งแรกประมาณปีพ.ศ.2539 และครั้งที่2 ปีพ.ศ.2552
1 ก.ย. 2552
นักรบชายแดน
© ครั้งหนึ่ง ครูเอื้อรับงานแสดงที่โรงหนัง "ชินทัศนีย์" จ.เชียงใหม่ คุณดุสิตผู้ติดต่อขอให้แต่งเพลง "หนองบัว " เพื่อบรรเลงในงานนี้ แต่คุณเล็ก โตปาน ยังใส่เนื้อร้องไม่เสร็จและจะต้องแสดงในตอนบ่าย ในตอนสายคุณเล็กจึงขอให้คุณดุสิตพาไปชมทัศนียภาพของหนองบัว เมื่อไปถึงจริง ในบึงน้ำแห้งขอด ดินแตกระแหง ดอกบัวเฉาเหี่ยวแห้งคาดินเป็นฝุ่นปลิวเวลาลมพัด คุณเล็กจึงรีบกลับไปเขียนเนื้อร้องต่อ พอบ่ายวันนั้น....คุณบุษยา รังสี ก็ร้องเพลงนี้ ซึ่งมีคำพื้นเมืองปนอยู่เป็นที่ถูกใจของคนเชียงใหม่
เห็นความอัจฉริยะของผู้แต่งหรือยังว่า ตอนสาย ๆ "หนองบัว" เป็นบึงบัวแห้งขอด แต่พอตอนบ่าย กลับกลายเป็น "หนองบัว" ที่สวยงามไปได้
(เกร็ดเพลงนี้ เป็นตอนที่ 3 อ่านตอนที่ 1 ได้ที่เกร็ดเพลง "สำคัญที่ใจ" และตอนที่ 2 ที่เกร็ดเพลง"ปองใจรัก")
สาว(ใหญ่)ใจเย็น
© ฟังเพลงได้ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=2YELDZ2fMdQ&feature=related
โก๋หลังวัด
© ใช่แล้วครับ แมน หมายถึง โผล่ และอีกที่หนึ่ง แก่น หมายถึง ดวง หรือ(เป็นลูกกลมๆ) ใช้ภาษาประจำถิ่นเพียงสองที่ทำให้มีเสน่ห์อย่างน่าทึ่ง
ลำพูน 09
เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงหนองบัว