บ้านคนรักสุนทราภรณ์

สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์


หน้าที่เด็ก

บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
     คำร้อง ชอุ่ม ปัญจพรรค์
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
  (สร้อย) เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน (ซ้ำ)

หนึ่ง นับถือศาสนา
สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู
หก เป็นผู้รู้รักการงาน
เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
ต้องมานะบากบั่นไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด
เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
รู้บาปบุญคุณโทษสมบัติชาติต้องรักษา
เด็กสมัยชาติพัฒนา
จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
(สร้อย จบ )



เนื้อเพลงในห้องบทเพลงได้รับความอนุเคราะห์จากสมาชิกที่รักในบทเพลงสุนทราภรณ์
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com

© เอื้อเฟื้อโดย... กังหันลม

ลำนำเพลง คลิกที่นี่
เกร็ดเพลง


© เป็นเพลงที่อมตะมากๆ ไพเราะทุกเพลง อยากให้สามารถกดปุ่มแล้วฟังเดี๋ยวนี้ได้เลย คงจะมีคนเข้ามาชมมากทีเดียว ได้เนื้อเพลงอย่างเดียวร้องเองไม่เพราะเลย
BEN
© ดีมากๆ ทั้งเนื้อร้อง และทำนองค่ะ ฟังตั้งแต่เด็ก ตอนนี้ก็ยังจำได้
jorm
© อยากได้เสียงเพลงหน้าที่เด็กจังเลย
ครูบ้านดง
© เพลงนี้หาฟังได้ที่โทรทัศน์ทุกช่อง เป็นโฆษณาประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้เห็นทางช่อง9 เกือบทั้งวัน
Pornchai Jenthanya
© น่าจะบังคับให้ ทุกสถานีเปิดเพลงนี้ ทุกวัน วันละ 3ครั้ง
เด็ก ๆ จะได้ซึมซับ เข้าไปบ้าง
kob
© อยากได้บทเพลงพร้อมคอร์ด Guitar จะเอาไปสอนให้ลูก ๆ และเด็ก ๆ เล่นกันจะได้ซึมซาบเข้าไปในจิตใต้สำนึกของเด็กรุ่นใหม่ ๆ บ้าง
หมูหิน
© ขอความหมายด่วนครับ
969696
© หน้าจะมีความหมายของแต่ละข้อ
ร๊ากนะจ๊วบๆ
© หน้าที่เด็ก
เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
หนึ่ง นับถือศาสนา
สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู
หก เป็นผู้รู้รักการงาน
เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
ต้องมานะบากบั่นไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด
เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
รู้บาปบุญคุณโทษสมบัติชาติต้องรักษา
เด็กสมัยชาติพัฒนา
จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ



เด็กดี
© คาวหลังหาอะไรที่มันดีกว่านี้ได้ไหม!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
เด็ก
© เพลงนี้จะได้ยินบ่อย ๆ ในช่วง "วันเด็ก" อีกเพลงหนึ่งซึ่งเปิดคู่กันคือเพลงเด็กไทย เดิมวันเด็กจะตรงกับวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม โรงเรียนหยุดไม่ต้องไปโรงเรียน วันที่ 16 มกราคม ซึ่งเป็นวันครู หากไม่ตรงกับวันเสาร์ - อาทิตย์ก็ได้หยุดเรียนอีกเช่นกัน ดีใจ 2 สุด คือ ดีใจสุด สุด เลย
คนนนท์
© โรงเรียนวัดมงคลนิมิตร ประสงค์จะได้เพลงนี้ไปเปิดให้นักเรียนฟัง เพื่อให้เกิดการซึมซับและตระหนักในหน้าที่ ของเยาวชน เช่นกัน จะขอโหลดเพลงนี้ได้ที่ไหน
ครู
© เพลงหน้าที่เด็ก เป็นเพลงประจำของวันเด็ก ที่มีใช้เปิดฟัง ในปี พะ.ศ.2502 เนื้อหามีความไพเราะมาก และเพลงที่กล่าวถึงเด็กไทยในยุคนั้น
นายกัน
© อยากได้เสียงทำงัยดี

ครูเด็กเล็ก
© เป็นเพลงที่ไม่มีโอกาสตกยุค ครับ...กี่ปีๆ ก็ต้องได้ฟังเพลงนี้ครับ...เป็นเพลงสุนฯเพลงเดียวที่เด็กไทยร้องกันได้ทั้งประเทศครับ...เยี่ยมสุดๆ
พักรบ
© ดีมาก
...........
© เพลงนี้ สุนทราภรณ์ ยุคต้น-กลาง (ศรีสุดา-เลิศ-วรนุช-วินัย ฯ)
เป็นผู้ขับร้อง
แฝงนาม
© มันมากๆ
คนไทย
© แล่มๆ
เพราะมากๆ

คนบ้าเดียวกัน
© สำหรับเพลง "หน้าที่ของเด็ก" หรือเพลง "เด็กเอ๋ยเด็กดี" นี้ ประพันธ์คำร้องโดย ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ นักเขียนนวนิยายชื่อดังคนหนึ่งของไทย ซึ่งท่านเป็นพี่สาวของครูอาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534

ครูชอุ่ม ได้เล่าถึงที่มาของเพลง "หน้าที่ของเด็ก" ว่า ในอดีต เมื่อ ปี พ.ศ. 2498 ทางสหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยหน้าที่ของเด็ก โดยนาย วี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ได้เชิญชวนให้ทุกประเทศทั่วโลกร่วมจัดงานวันเด็ก เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ

รัฐบาลไทย ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศ ทั้งในระบบโรงเรียนและ นอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ ซึ่งท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติคนหนึ่ง ของกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้นำเนื้อหาดังกล่าว มาแต่งเป็นกลอนให้คล้องจองกัน และขอให้ครูเอื้อ สุนทรสนานแต่งทำนองให้ จากนั้น ก็ได้มีการนำเพลงนี้ ไปเปิดทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ในวันเด็กแห่งชาติทุกปี จนถึงทุกวันนี้


ดี

เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงหน้าที่เด็ก