บ้านคนรักสุนทราภรณ์

สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์


เพชรอัมพวา

บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
     คำร้อง คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
  เมืองอัมพวา ถิ่นนี้ระบือ สมชื่อเมืองศิลป์ไทย
ก่อเกิดหนึ่งศิลปินเพชรงาม ค่าเลิศล้าเลอใจ
ลีลาดนตรี เด่นทั้งธาตรี สุนทรีย์วิไล
เสนาะผสาน เบิกบานฤทัย นานเท่าใดงดงาม

ระลึกถึงผู้ เชิดชูบทเพลง
แต่งให้บรรเลง ล้วนเพลงอมตะ ตลอดกาล
เพลงมนต์ดนตรี ดั่งทิพย์วารี ชุบจิตที่แล้งนาน
เอื้อเทพตระการ ดั่งครองวิมาน งามสนานสุนทร
เนื้อเพลงในห้องบทเพลงได้รับความอนุเคราะห์จากสมาชิกที่รักในบทเพลงสุนทราภรณ์
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com

© เอื้อเฟื้อโดย... โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี
ผู้ขับร้อง : ณัฏฐ์นรีย์ มะลิทอง
ลำนำเพลง คลิกที่นี่
เกร็ดเพลง


ทำนองเพลงเดียวกับเพลง สาวอัมพวา
โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี
© ฟังครั้งแรก ก็หลงรักเพลงนี้ค่ะ ไปฟังหลานคนสวยณัฏฐ์นรีย์ร้องที่สมุทรสงครามค่ะงานสุนฯคืนถิ่นอัมพวา ที่อุทธยา ร.2ค่ะ เมื่อเดือนมกราคม 2552 คุณหญิงวินิตา แต่งเก่งนะคะ เพลงแทบทิพย์เทวีอีกเพลงที่ท่านแต่งก็ชอบค่ะ แฟ้มบุคคลขอปรบมือนะคะ ทั้ง คำร้อง และผู้ร้อง
nongmoo9
© เคยฟังเพลงนี้ครั้งแรกเมื่องานลอยกระทง ปี 2551 ที่อุทยาน ร.2 น่าจะเป็นการขับร้องครั้งแรก
นกเล็ก (409743)
© อยากให้พิจารณา เนื้อร้อง ท่อนสุดท้าย ที่ว่า
"เอื้อ เทพตระการ ดั่งครองวิมาน งามสนานสุนทร" ที่คุณหญิงวินิตา แต่งเอาไว้
ฉันว่า มันดูขัดๆยังไงๆชอบกล
แม้จะบอกว่า
"ระลึก ถึงผู้ เชิดชูบทเพลง
แต่งให้บรรเลง ล้วนเพลงอมตะ ตลอดกาล
เพลงมนต์ดนตรี ดั่งิทพย์วารี ชุบจิตที่แล้งนาน"
ซึ่งเป็นการพรรณนาถึง ความสามารถ และ ผลงานเพลงอมตะของ ครูเอื้อ
ที่นำมาสรุปในวรรคสุดท้าย ว่า
" เอื้อ เทพตระการ" ความหมายนั้น
คงต้องการบอกว่า ครูเอื้อ เป็น เทพ หรือ เทวดา
แต่คำว่า "ตระการ" นั้น มันแปลว่า "งาม" "ประหลาด" ก็เลยไม่รู้ว่า จะตรงกับสิ่งที่ผู้แต่งตั้งใจจะบอกหรือไม่
ส่วน วรรคสุดท้าย ที่ว่า "งาม - สนาน - สุนทร"
ออกจะแปลกไปกว่าที่คิด หากต้องการเพียงสีบสัผัส จากคำว่า "วิ - มาน"
เลยเอามาสลับเสีย จาก "สุนทร - สนาน" มาเป็น "สนาน - สุนทร"
ความหมายจะต่างกันไกลลิบลับ
เพราะคำว่า "สนาน" นั้น แปลว่า "อาบ - น้ำ" ที่ ร.6 พระราชทานเป็นนามสกุลให้ หมื่นไพเราะพจมาน ( อาบ สุนทรสนาน)
การกลับคำแบบนี้ คงไม่ถูกต้องแน่ๆ
อยากให้ช่วยพิจารณา จะได้มีความไพเราะ สมบูรณ์ ถูกต้อง กว่าที่เป็นอยู่
แฟนเพลงรุ่นเก่า
© น่าจะตีความได้ 2 แบบ
สุนทร - สนาน แปลว่า หมื่นไพเราะพจมาน ที่มีชื่อว่า นายอาบ
หรือ สนาน - สุนทร แปลว่า นายอาบ ที่มียศศักดิ์ ว่า หมื่นไพเราะพจมาน
ไม่รู้ว่า จะมีใครคิดเห็นต่างไปจากนี้หรือไม่
สุนทราภรณ์ อิสซึ่ม
© ฉันว่า มันต้องเริ่มจาก "สุนทร" คือ หมื่นไพเราะพจมาน ที่มีชื่อเดิมว่า "นายอาบ" หรือ "สนาน"
แปลว่า หมื่นไพเราะพจมาน ที่มีชื่อเดิมว่า อาบ จึงควรเป็น "สุนทร-สนาน"
ไม่ใช่ นายอาบ ที่เป็น หมื่นไพเราะพจมาน หรือ สนาน-สุนทร แน่ๆ
เหมือนอย่าง หลวงสุขุมนัยประดิษฐ ก็มาจาก
หลวงสุขุม ที่มีชื่อเดิมว่า ประดิษฐ ไม่ใช่ นายประดิษฐ ที่เป็น หลวงสุขุม นั่นแหละ ค่า
ฉันว่าของฉัน มันเป็นอย่างนี้
หรือ ใครจะว่าไง
แฟนเพลงรุ่นเก่า
© พี่มีนคนสวยร้องเพราะจังนะคะ
เด็กแอบพี่มีน
© พี่มีนคนสวยร้องเพลงเพราะจังเลยนะค่ะ
เด็กที่แอบชอบพี่มีน

เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงเพชรอัมพวา