บ้านคนรักสุนทราภรณ์
สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์
มาร์ชบุรีรัมย์พิทยาคม
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
คำร้อง สมศักดิ์ เทพานนท์ |
ทำนอง เวส สุนทรจามร |
โรงเรียนเราบุรีรัมย์พิทยาคม สีน้ำเงินเย็นร่ม บ่มความสุขสันต์ ทวีงามชมพู นี่คือความสามัคคีและความรักภักดีจิตไมตรี ไม่คลาย โรงเรียนเราบุรีรัมย์พิทยาคม หญิงและชายเย็นร่ม ใต้ร่มโพธิ์ แสนสบาย ยามเราเรียนตั้งใจเล่าเรียนไม่วาย เล่นกีฬาไว้ลาย เล่นด้วยใจชื่อตรง พวกเราทุกคนรักกันมั่นนาน เชื่อครูอาจารย์ รักท่านมั่นคง เราพร้อมใจเทิดทูนสถาบัน เรายิ่งยงงามประเทือง วิไลดำรงความรื่นรมย์ เจ้าพ่อหงส์ทองศูนย์รวมจิตใจ ต่างคนกรสบไหว้หัวใจชื่นชม เคารพครูอาจารย์สั่งสอนให้การอบรม บุรีรัมย์พิทยาคม ชมทั่วไทย งามยิ่งน้ำเงินชมพูงามเด่น ทุกคนได้เห็นเป็นที่เตือนใจ ขอพรประทานเจ้าพ่อหงส์ทองเกรียงไกร สักการะร่วมใจ ร่มโพธิ์สุขสันต์ ฟังแว่วสายลมทิวสนงามยิ่ง เหมือนเตือนชายหญิง ทุกสิ่งผูกพันพิทยาคมบุรีรัมย์จงร่วมกัน เทิดทูนไว้สถาบันมั่นคง รุ่งเรือง |
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
เพลงนี้เป็นเพลงประจำโรงเรียน บุรีรัมย์พิทยาคม
และผู้เรียบเรียงเสียงประสาน คือ เพิ่ม คล้ายบรรเลง
เด็กชาย ธนภัทร
© จำได้ว่าตอนที่มีดำริให้ทำเพลงของโรงเรียน อาจารย์น้อม พินิจศักดิ์แนะนำว่าควรไปขอความกรุณาให้ครู เวส ช่วยประพันธ์ เพื่อให้ได้เพลงออกมาสละสลวย เพื่อนคนหนึ่งชือ บรรลือ สุกใส (ปัจจุบันฟังว่าเป็นเจ้าหน้าที่งานกทมสังกัดจัตุจักรแล้วโยกย้ายหายไปที่อื่น)ซึ่งเป็นนักดนตรีเป่าแซกในวงดุริยางค์ได้ร่วมเดินทางไปกับคณะ(ไม่ทราบว่ามีกี่คน)เข้ากทมเพื่อดำเนินการตามดำริและได้นำความมาขยายให้ผมฟัง แต่ผมก็ไม่ทราบว่าสุดท้ายแล้วใครเป็นผู้ประพันธ์หรือใครเป็นผู้ร้อง
เมื่อปีพศ 2505(เท่าที่จำความได้)บริเวณโรงเรียนฯเดิมเป็นโรงเรียนชายชื่อบุรีรัมย์วิทยาลัย มีต้นสนเป็นจำนวนมากแต่ละต้นสูงอย่างน้อยยี่สิบเมตรปลูกเป็นทิวตามแนวถนน สนามฟุตบอลที่อยู่ข้างถนนเมื่อครั้งสงครามเวียตนามมีฮ มาลงเพื่อเติมน้ำให้เห็นเป็นที่เอิกเกริกแก่ผมและชาวบ้านที่อาศัยอยู่แถวนั้นประจำ ศาลเจ้าพ่อหงส์ทองอยู่ใต้ต้นโพธิ์ตามตำแหน่งปัจจุบัน แต่ต่อมาเมื่อโรงเรียนชายกับโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด(โรงเรียนสตรีบุรีรัมย์)ได้รวมกันเป็นสหศึกษาชื่อใหม่คือบุรีรัมย์พิทยาคมในพ.ศ. 2515 ต้นสนจำนวนมากได้ถูกตัดลงเพือขยายถนนและตั้งเสาไฟฟ้าเข้าโรงเรียนรุ่นพวกเราเป็น บพ แรกได้ใช้เวลาเรียนวิชาไฟฟ้าลงเสาไฟจำนวนหนึ่งซึ่งเข้าใจว่ารุ่นหลังๆก็ได้ดำเนินการจนเสร็จเป็นที่เป็นทาง ผู้บริหารคงได้เห็นว่าต้นสนที่ถูกตัดไปทำให้เสียเอกลักษณ์ตามเนื้อเพลงจึงได้ปลูกต้นสนจำนวนหนึ่งหน้าอาคารบริหารปัจจุบันสูงประมาณ 10 เมตร อย่างไรก็ตามเด็กรุ่นนี้ส่วนมากร้องเพลงประจำโรงเรียนไม่ได้แล้วคงเป็นเพราะผู้บริหารเห็นความสำคัญเป็นอย่างอื่นไปหรือไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพลงนี้นัก ข้อความนี้บันทึกตามความรับรู้เรื่องราวของเด็กคนนึงในสมัยนั้นที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อยู่บ้างไม่สามารถรับรองได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มั่นคงแบบทั่วไปได้
ป้อม
© แก้ไขท่อนที่ 4 เป็นต่างคนกราบไหว้
ผู้แก้ไขเป็นศิษย์เก่า จำได้ว่าสมัยนั้นเพิ่งแต่งใหม่ประมาณปี พ.ศ 2519 ยังไม่มีการบันทึกเสียงทางโรงเรียนได้โน๊ตเพลงมาแล้วก็นำมาให้วงดนตรีของโรงเรียน บ.พ.ฝึกและบรรเลงโดยเพื่อนๆห้องคิงส์เป็นนักดนตรี และผู้แก้ไขเป็นคนหนึ่งที่ได้ร้องเพลงนี้และบรรเลงเป็นครั้งแรกเมื่อตอนที่โรงเรียนจัดฉายหนังการกุศลที่โรงหนังแกรนด์และเมื่อเรียนวิชาดนตรีอาจารย์เมธา ก็ให้ฝึกเป่าขลุ่ยด้วยเพลงนี้ตอนเรียนอยู่ประมาณ
ม.ศ.2หรือ 3
คงพจน์ คงวิมลสวัสดิ์ ศิษย์เก่า
© ขอความหมายเพลงด้วยค่ะ
ต่าย
© อยากรู้ความรู้สึกของเพลงมาร์ชว่าคสามรู้สึกของพี่ๆๆเป็นยังงัยบ้างอ่ะคร้ะ
เด็กนักเรียน
© ความหมายล่ะค่ะ
ศิษน้ำเงินชมพู่
© แม้จะผ่านไปเกือบ 30 ปี ยังจำเนื้อร้องทำนอง และสามารถขับร้องได้
ร้องเมื่อใด น้ำตาจะไหลเอาดื้อ ๆ นี่คือความขลังของ บุรีรัมย์พิทยาคม
ปรัตถกร สกิมงาม ศิษย์เก่า บ.พ.คนหนึ่ง
เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงมาร์ชบุรีรัมย์พิทยาคม