บ้านคนรักสุนทราภรณ์

สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์


ถิ่นไทยงาม

บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
     คำร้อง แก้วอัจฉริยะกุล
ทำนอง เวส สุนทรจามร     
  เห็นแดนแผ่นดินท้องถิ่นไทยงาม
ดูอยู่ด้วยความเพลินใจนิยม
อากาศก็ดีน่าสบาย พระพายรื่นรมย์
ใครได้มาชมคงชื่นในใจ
สวยงามชื่นจริงทุกสิ่งสะคราญ
มีห้วยละหานลำธารแนวไพร
น้ำตกกระเซ็นเป็นฟอง ละอองพราวไป
โปรยฉ่ำฤทัยชวนให้ชื่นบาน

เขาสูงเงื้อมง้ำค้ำฟ้าอยู่
ชวนชื่นชูแหงนดูอยู่นาน
สายน้ำซับซ้อนแลดูลาน
เป็นวิมานสำราญแห่งไทย
ไม้งามปกคลุมชอุ่มดูเขียว
ได้แต่แลเหลียวตะลึงลานใจ
พันธุ์บุปผชาติดาษดาล้วนงามวิไล
ดมกลิ่นชื่นใจในเมื่อลมพา

หมายถึงแผ่นดินท้องถิ่นทางเหนือ
ประเสริฐเลิศเหลือจะพรรณา
ทั่วบ้านทั่วเรือนครอบครัว สวนครัวเกลื่อนตา
มีผักมีปลานาไร่น่าชม
วัฒนธรรมล้ำเลิศงามครัน
มีอยู่ทั่วกันตามความนิยม
สวมหมวกงามๆทั่วกันผิวพรรณขำคม
ใครได้มาชมคงชื่นทรวงใน

สาวๆจิ้มลิ้มยิ้มชื่นฉ่ำ
งามด้วยธรรมชาติสร้างให้
สวยนักสวยล้ำสาวชาวไทย
งามวิไลทั้งใจและกาย
ขอเชิญพวกเราผองเผ่าชาวไทย
ไปอยู่ยังในที่สุขสบาย
มีที่งามงามทำกินพื้นดินมากมาย
น่าอยู่สบายยังถิ่นไทยงาม......
เนื้อเพลงในห้องบทเพลงได้รับความอนุเคราะห์จากสมาชิกที่รักในบทเพลงสุนทราภรณ์
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com

© เอื้อเฟื้อโดย... ก๋งงงงงงงงง
ผู้ขับร้อง : มัณฑนา โมรากุล , บุษยา รังสี
ลำนำเพลง คลิกที่นี่
เกร็ดเพลง


เพลงนี้เป็นเพลงของกรมโฆษณาการ โดยมีการบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรก ในปีพุทธศักราช 2492 ผู้ที่ขับร้องคนแรกคือ คุณมัณฑณา โมรากุล ต่อมาได้มีการบันทึกแผ่นเสียงใหม่ในวงสุนทราภรณ์ โดยให้คุณบุษยา รังสี ขับร้อง มีการเปลี่ยนเนื้อร้องจากเดิม 2 ท่อน ( ของเดิม "วัฒนธรรมล้ำเลิศงามครัน มีอยู่ทั่วกันตามความนิยม มีเครื่องแต่งกายงามครัน ผิวพรรณขำคม งามอย่างชื่นชมให้ชื่นทรวงใน" ของใหม่เปลี่ยนเป็น "วัฒนธรรมล้ำเสิศงามครัน มีอยู่ทั่วกันตามความนิยม สวมหมวกงามๆทั่วกันผิวพรรณขำคม ใครได้มาชมคงชื่นทรวงใน" )

ก๋งงงงงงงงง
© เพลงนี้เกิดสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งเสริมให้คนไปตั้งถิ่นฐานภาคเหนือ เป็นเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวระยะแรก ๆ ทำนองเป็นของครูเวส สุนทรจามร ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เป็นผู้ประพันธ์บทร้อง...
เป็นเพลงเพราะที่มีเสน่ห์ในตัว สมัยนั้นคนร้องเกร่อมาก มัณฑนา โมรากุล ร้องกับวงกรมโฆษณาการและอัดเสียงกับบริษัท นำไทย จำกัด แผ่นตราสุนัขหน้าสีเขียว ต่อมาอัดเสียงซ้ำครั้งที่สอง ร้องโดย บุษยา รังสี เป็นคนล่าสุด...

จาก.."สุนทราภรณ์รำลึก แก้ว-เวส ครูเพลงที่ยิ่งใหญ่"
โย่ง
© เนื้อเพลงอันไพเราะ
pretty
© When I miss home, I always sing this song. Khun Montana and Khun Busaya sang this song with their beautiful sentimental voices.
Preecha
© หาซ้อเพลงน้ได้ท่ไหนคะ
คนอดีต
© เนื้อเพลงบรรยายความเป็นไปของบ้านเมิองในยุคนั้นได้ชัดเจน และคงสวยงามมีเสน่มากครับ
ไร่นวภัทร กาฬสินธุ์
© อันความงาม พับซ้อน ซ่อนเก็บไว้
ถ้าเปิดใจ จะได้เห็น เป็นประจักษ์

ธานินทร์ 49
© เพลงนี้มีคนคลิกเป็นอันดับ2 (ตอนนี้1225)
มีคนส่งเกร็ดเพลง 8
-
© ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม มีคนคลิก 1230
มีคนส่งเกร็ดเพลง 9
-
© เพลงนี้เกิดเพราะว่าจอมพล ป. ท่านออกนโยบายให้คนไทยไปตั้งถิ่นถานทางภาคเหนือ เพลงที่เกิดเพราะเหตุนี้ก็เช่น แว่วเสียงเธอ ผาเงอบ ถิ่นไทยงาม แล้วก็ .......
แว่วเสียงเธอ
© ผาเงอบ และ แว่วเสียงเธอ ใช้จังหวะเลียนแบบ ดนตรี"ฟ้อนเทียน" ของเชียงใหม่ใช่ไหมครับ....ฟังแล้วให้อารมย์แบบดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือนะครับ..ใครรู้ช่วยตอบที
ชัยชนะ
© ใช่แล้วครับ คุณชัยชนะ เพลงแนวเหนือ ๆ มีอีกนะครับ เช่นเพลงอี่นายน่ะครับ
แว่วเสียงเธอ
© เพลงนี้บรรยายถึงความงดงามทางธรรมชาติ วัฒนธรรม ชีวิตและความเป็นอยู่ ของผู้คนทางภาคเหนือไว้อย่างไพเราะสุดจะหาคำเปรียบเปรยได้ ฟังเพลงนี้ทีไรชวนให้นึกถึง 2 สิ่ง อย่างแรก นึกถึงใบหน้าของคุณบุษยา ขณะที่ขับร้อง ในช่วงที่มีทีวีขาว-ดำ รอยยิ้มที่ประทับใจ แววตาที่เปี่ยมไปด้วยความสุขเสียงที่มีมนต์สะกดให้ผู้ฟังเข้าไปอยู่ในอารมณ์ของเพลงได้ อย่างที่สอง ก็นึกถึงเมื่อตอนยังเด็ก คุณพ่อเคยพาไปเที่ยวเชียงใหม่(ประมาณปี 2507) ตอนเช้าๆขณะที่รถไฟแล่นผ่านทิวเขาดอยขุนตาล จ.ลำปาง มองเห็นป่าไม้สัก ลำธาร นึกถึงครั้งใดมีความสุขใจเสมอไป...
เชิด
© คลิกเข้ามามากมาย แต่ไม่มีใครทักท้วงที่สะกดผิดสองแห่ง คือ "สะคราญ(สคราญ)" แล "ละหาน(ละหาร)" ?? (๒๘ กันยายน ๒๕๔๘)
นิมิตสวรรค์
© I like Khun Cherd's comment about Budsaya's face, smile, and voice.

Budsaya's Fan
Budsaya's Fan
© คุยกับคุณ "เชิด" หน่อยนะครับ ในช่วงปี 2507 ที่คุณว่านั้น ผมกับพี่ชายไปเที่ยวทางเหนือ ขับรถ Jeep เข้าไปในป่าเป็นเส้นทางระหว่างอำเภอ เส้นทางนั้นผ่านป่าไผ่เป็นป่าไผ่อย่างเดียวยาวเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาหวนกลับไปที่เส้นทางนั้นอีก ไผ่สักกอเดียวก็ไม่เหลือ ถางกันโล่งเลี่ยนเตียนไปหมด เห็นแล้วสลดใจจริง ๆ
คนนนท์
© ไปฟังศิลปินแกรมมี่ร้องเพลงนี้ ที่นี่ค่ะ...
http://www.wherearepop.com/index.php?topic=5468.0

น่าเสียดาย ที่มีท่อนที่ร้องผิดคือ
หมายถึงแผ่นดินท้องถิ่นทางเหนือ ประเสริฐเลิศเหลือจะพรรณา
ชบาแดงสีเหลือง
© ฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกมีความสุขร่มเย็นขึ้นมาทันใดเพราะเราฟังด้วยใจถ้อยคำภาษาเพลงที่ใช้เข้าถึงธรรมชาติ(มองเห็นภาพเลย)จากการฟังนักร้องทั้ง ๒ ท่านร้องไพเราะกันคนละอย่างบางท่อนใช้คำร้องไม่เหมือนกันเราควรจะยึดถืออันไหนดีคะ..แต่ทั้ง ๒ อย่างเราก็ต้องอนุรักษ์อยู่ดี..ดิฉันเห็นว่าควรมากำหนด ให้นักร้องรุ่นหลังใช้คำร้องที่ถูกต้องตามต้นฉบับดีกว่าค่ะจะได้ไม่สับสนมากไปกว่านี้...คำร้องในบทเพลงบางคำก็สอนให้เรารู้จักภาษาไทยได้ดีขึ้นด้วยค่ะ เช่น สะคราญ,ละหาน,พรรณนา เป็นคำที่มักเขียนกันผิดบ่อยๆ
และนักร้องท่านล่าสุด คุณอรวี เธอร้องเพราะนะ แต่มีท่อนท้ายๆเธอร้อง"หมายถึง"แผ่นดินท้องถิ่นทางเหนือ...เป็น.."ไม้คลุม"เราควรจะยึดถือคำไหนกันดีคะ
ตู่..ศิริวรรณ(ผู้รักภาษาไทยมากคนหนึ่ง)๑๔/๐๗/๕๑
© ได้ยินครั้งแรกในวิทยุเต็มร้อยของปี้เอ้ยลำพูนเป็นเพลงเปิดรายการที่ชอบที่สุดค่ะ
ดอกป๊าน
© เพลง คุณโฉมฉาย อรุณฉาน ก็เคยขับร้อง และก็เพราะมากครับ
จินซิง
© น่าจะเป็นเพลงที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ดีมากนะครับ โดยเฉพาะทางภาคเหนือที่มีสภาพทางธรรมชาติที่สวยมากครับ
การ์ฟิลด์
© เพลงนี้คุณกุ้ง-กิตติคุณ เชียรสงค์ ได้ขับร้องไว้ด้วยอีกครั้ง
น้องกานต์
© เพลงที่ มัณฑนา โมรากุล เป็นผู้ขับร้อง อีกเพลงหนึ่ง ที่ได้ยินได้ฟัง จากสถานีวิทยุกระจายเสียงของ กรมโฆษณาการ อยู่เป็นประจำ ในยุครัฐบาล ท่านผู้นำ จอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ เพลงถิ่นไทยงาม ซึ่งถือได้ว่า เป็นเพลงที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือ เพลงแรกของไทย
ครูแก้ว อัจฉริยะกุล บรรยายสภาพภูมิอากาศของเมืองเหนือ ที่เรียกกันว่า ถิ่นไทยงาม เอาไว้ได้อย่างหมดจดครบถ้วน ว่า ไม่ว่าจะเป็น อากาศที่เย็นสบาย ห้วยละหาน ลำธาร ป่าเขาลำไพร พืชพันธุ์ไม้งามตา กลิ่นหอม และ น้ำตกและภูเขาสูง

ในขณะเดียวกัน ก็สอดแทรก นโยบายของ รัฐนิยม ในสมัยนั้นเอาไว้ด้วย เช่น การปลูกผักสวนครัว การสวมหมวก และการรักษาวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ดั้งเดิม อันเป็นต้นตระกูล สินค้าโอทอป ที่กำลังเห่อกันอยู่เช่นทุกวันนี้

มัณฑนา โมรากุล เขียนเล่าเอาไว้ ใน หนังสือ ดาวประดับฟ้า มัณฑนา โมรากุล ว่า
“...เพลงนี้เกิดสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งเสริมให้คนไปตั้งถิ่นฐานภาคเหนือ เป็นเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวระยะแรกๆ ทำนองเป็นของ น้าเวส แต่ ครูแก้ว ประพันธ์บทร้อง

เป็นเพลงที่มีเสน่ห์ในตัว สมัยนั้น คนร้องกันเกร่อมาก ดิฉันร้องกับ วงดนตรีกรมโฆษณาการ อัดเสียงกับ บริษัทนำไทย จำกัด แผ่นตราสุนัขหน้าสีเขียว ต่อมาอัดเสียงครั้งที่สอง ร้องโดย บุษยา รังสี...”

กอล์ฟ
© ฟังเพลงและชมMVได้ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=hD_Iw8HPT4M&feature=related
โก๋หลังวัด๐๑
© ฟังบ่อย ไพเราะมาก
ครูต้ย
© ทั้งเนื้อและทำนอง จรรโลงจิตใจ ให้เกิดความงามทางสังคม แต่เนื้อเพลงไทยบางเพลงในปัจจุบัน ทำให้สังคมเสื่อมลงไปทุกที.............ฉิบหายแน่นอนประเทศไทย
boon
© ไม่ลืมคนไทย
อภิกัลยา คณานุรักษ์
© สวมหมวกงามๆทั่วกันผิวพรรณขำคม
.
พ่อผมเป็นครูถูกบังคับให้สวมหมวกกะโล่ด้วย แม่บอกว่าเขาแนะให้โค่นหมาก กลัวคนจะกินหมากปากดำ ตอนหลังหมากมีราคาจึงได้ปลูกเพิ่ม จอมพล ป ออก จอมพลสฤษดิ์เข้า


สุธีร สุมงคล
© คุณรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ขับร้องบันทึกเสียงเป็นคนที่ ๓ ภายหลังที่ออกจากวงสุนทราภรณ์แล้ว ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๓ 🎙🎶

รับฟังเพลงได้ตามลิงก์นี้ครับ 🎵🎶
https://youtu.be/6ACfJwsNA04

Jojoejung Joe

เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงถิ่นไทยงาม