บ้านคนรักสุนทราภรณ์
สังคมของคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์
ใต้ร่มมะลุลี
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล |
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน |
ญ. โอ มะลุลี ร่มนี้มืดมน ช้ำเหลือทนอับจนหัวใจ ต้องพรากรักไป ภายใต้ร่มไม้ของเจ้านี้ ช. ลืมรักที่หลั่งลงฝังกับใจ ฝังฝากให้ใต้ร่มมะลุลี จงลืมรักพี่อย่ามีฤดีอาลัยต่อกัน ญ. ยากเย็นกรรมหรือเวรอันใด นำชักให้ดวงฤทัยโศกศัลย์ ช. พี่ตรมสุดภิรมย์รำพัน บุญไม่เปรียบเทียบทันร้าวรานฤทัย ญ. โอ รักที่ผ่าน ดังฝันชั่วคืน ครั้นพอตื่นกลับคืนหายไป ช. โธ่ อย่าร้องไห้ พลอยให้ดวงใจร้าวระทม ช-ญ. ร่มมะลุลี เป็นที่สุดท้าย แห่งจุดหมาย น้อง พี่ มะลุลี เห็นใจ น้อง พี่ ว่าสิ้นคืนนี้ น้อง พี่ สิ้น กัน... |
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่ websuntaraporn@gmail.com หรือที่ นิมิตสววรค์
© เพลงนี้บันทึกเสียงครั้งแรกโดย วินัย จุลละบุษปะ-เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ในละครเรื่องจุฬาตรีคูณ
ครั้งที่2 โดย สบัติ เมทะนี-สวลี ผกาพันธ์ ในภาพยนตร์ ที่มิตร-เพชรา แสดงคู่กัน
แผ่นครั่ง
© ฟังแล้วเหมือนจะเศร้ามากๆเลย
ผึ้ง
© ฟังแล้วเศร้าจังเลย
ฟ้าใส
© เห็นต้นมะลุลี แล้วมึน ครับ ต้นสูงแค่ศอก กว่า ๆ เป็นไม้พุ่มพร้อมเลื้อย แล้วคนตั้งสองคนจะมุดเข้าไป พลอดรักกันใต้ต้นมันได้ไงเนี่ย ??? ใครรู้ช่วยบอกที่ครับ
แอ็ด
© คำว่า"มะลุลี"ที่จริงแล้วต้องเขียนว่า"มลุลี" ไม่ใช่หรือ
จุฬาตรีคูณ
© ชรินทร์คู่กับโฉมฉาย ก็มีครับ
วัฒนะ
© เพลงเพาะจังเลย
แป้ง
© ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ 13 มกราคม 2553 คอลัมน์ เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ นายเกษตร เขียนบอกไว้ว่า
"ปกติ มะลุลี จะเป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง สามารถเลื้อยได้ไกลกว่า 5 เมตร
ดอกออกเป็นช่อหลายดกอสีขาว มีกลิ่นหอมชื่นใจตลอดทั้งวัน
ในสมัยก่อน นิยมปลูกประดับตามบ้านกันแพร่หลาย ให้ต้นไต่พันซุ้มประตูหน้าบ้านพันรั้ว หรือไต่ซุ้มดอกเห็ด ทำที่นั่งพีกผ่อนใต้โคนต้น
และจากความงามและกลิ่นหอมของ ดอกมะลุลี ในยุคนั้น รักแต่งเพลงได้นำไปแต่งเป็นบทเพลง ชื่อ ใต้ร่มมะลุลี ให้นักร้องขับร้อง จนโด่งดัง ได้รับความนิยมจากผู้ฟังมาก
ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จัก ดอกมะลุลี..."
ศรี อยุธยา
© มะลุลี เป็นคำที่ถูกต้องแล้วครับ
มลุลี ไม่มีใจพจนานุกรม ครับ
...
© เมื่อหลายปี นานมาแล้ว จำได้ว่าครูแก้วเคยตอบคำถามถึงต้นมลุลี ในรายการทางโทรทัศน์ ช่อง 4 ว่า ไม่มีจริง เป็นต้นไม้สมมติขึ้นมาเท่านั้น ส่วนชื่อนี้จะไปซ้ำกับชื่อต้นไม้ชนิดอื่น หรือมีคนเอาไปตั้งชื่อต้นไม้อื่นทีหลัง อันนี้ไม่ทราบได้
หนุ่มกาญจน์
© มะลุลี..คือดอกไม้ชนิดหนึ่งจัดอยู่ในจำพวกเดียวกับมะลิ
kk
© จากเว็บไซด์ของ คม ชัด ลึก โดยนายสวีสองได้บรรยายไว้ว่า ปัจจุบัน มะลุลีถือเป็นต้นไม้ที่หาชมไม่ได้ง่ายนัก นับเป็นต้นไม้เก่าแก่ พบมากในภาคกลาง ภาคอิสาน เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็กอยู่ในวงศ์ OLEACEAE หากมีไม้อื่นอยู่ใกล้มันจะเลื้อยพาด ลำต้นกลมเป็นเถาโคนต้นจะออกสีนำ้ตาล กลางและปลายสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ใบดกมากรูปทรงกว้าง 3-4 ซม.ยาว 6-8 ซม.โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อย 10 ดอกขึ้นไป แต่ละดอกมีกลีบรองดอก 5 กลีบ เวลาบานสีขาวเป็นหลอดยาวราว 2 ซม.โดยมีกลีบดอกเชื่อมกัน 7 กลีบ กลิ่นหอมทั้งกลางวันกลางคืน และบานนานหลายวัน ออกดอกดกตลอดปี
ลุงเพลง
© เพลงจุฬาตรีคูณนี้เป็น 1 ใน 5 เพลงซึ่งคุณครูแก้ว อัจฉริยะกุล และคุณครูเอื้อ สุนทรสนานได้ร่วมกันแต่งคำร้องและทำนองเพื่อประกอบละคอนวิทยุคณะแก้วฟ้าเรี่อง "จุฬาตรีกูล" ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของ พนมเทียน โดยพนมเทียนได้เขียนบทประพันธ์นี้ไว้ตั้งแต่เมื่ออายุ 17 ปี เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากบทประพันธ์เรี่อง "กามนิต - วาสิฐี" ของเสถียร โกเศษฐ และ นาคะประทีป คุณครูแก้วฯ เป็นหัวหน้าละคอนวิทยุคณะ "แก้วฟ้า" ได้ทำบทละคอน จุฬาตรึคูณ แล้วนำมาออกอากาศทางวิทยุเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2491โดยมีเพลงประกอบในละคอนเรื่องนี้อีก 4 เพลงคือ เจ้าไม่มีศาล อ้อมกอดพี่ ปองใจรัก และจุฬาตรีคูณ เพลงใต้ร่มมะลุลีเป็นบทเพลงบทเศร้าที่สุดในบรรดาเพลงอีก 4 เพลงเหมือนเนื้อหาของเรื่องซี่งจินตนาการถึงแหล่งน้ำศักดิ์สัทธิ์ในแผ่นดิน 2 สายคือคงคา และ ยมุนาไหลมาบรรจบกับทางช้างเผือกจากสวรรค์(คงคาสวรรค์)รวมกันเป็นน้ำ 3 สายจึงเรียกจุดบรรจบน้ำทั้ง 3 สายนี้ว่า "จุฬาตรีคูณ" ซึ่งถ้าผู้ใดมีบุญวาสนาได้อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ ณ จุดนี้คิดหวังสิ่งใดก็จะสมปรารถนาทุกประการจึงมีผู้คนจำนวนมากมุ่งเสาะแสวงหา "จุฬาตรีคูณ" อย่างไม่ย่อท้อต่อทุกข์ยากใดๆ พี่เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ศิลปินแห่งชาติผู้ร่วงลับไปแล้วเล่าให้ฟังว่า พอคุณครูเอื้อฯ และคุณครูแก้วฯ แต่งเพลงใต้ร่มมะลุลีนี้เสร็จ คุณครูเอื้อฯ เจาะจงเลยว่าต้องให้เพ็ญศรี ร้องคู่กับวินัยเท่านั้น พี่เพ็ญศรีฯ บอกว่าตอนนั้นกำลังไม่กินเส้นกับพี่วินัยฯ อย่างแรงไม่พูดกันเจอหน้าก็ไม่ทักกันไม่ต้องการร้องคู่กับพี่วินัยฯแต่เป็นภาคบังคับจากคุณครูเอื้อฯ จึงต้องจำยอม พี่เพ็ญศรีฯเล่าว่าตอนอยู่ในห้องอัดพอฝ่ายหญิงร้องจบท่อนก็เมินหน้าไปทาง พอฝ่ายชายร้องจบท่อนก็เมินหน้าไปอีกทาง ไม่มองหน้ากันจนจบเพลงแต่ท่านทั้งหลายครับท่านเห็นด้วยกับผมใหมว่านักร้องทั้งสองท่าน ร้องเพลงนี้ได้ไพเราะลึกซึ้งแฝงความเศร้าสลดไว้อย่างหาที่ติไม่ได้จริงๆใช่ใหมครับ
ลุงเพลง
© ขอแก้ใขความผิดพลาดบรรทัดแรกที่ว่า "เพลงจุฬาตรีคูณนี้เป็น 1 ใน 5 เพลง.........." ที่ถูกต้องคือ "เพลงใต้ร่มมะลุลีนี้เป็น 1 ใน 5 เพลง........" ขออภัยและขอบคุณอย่างยิ่งครับ
ลุงเพลง
เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงใต้ร่มมะลุลี