สนิท ศ.
สนิท ศ.
"กวีเพลงแห่งล้านนาไทย
กวีเพลงที่มีชื่อว่า สนิท ศ. ชื่อจริงของเขาคือ สนิท ศิริวิสูตร
เกิดที่ห้องแถวในตรอก "เล่งโจ๊ว" ใกล้ตลาดวโรรส อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2467 บิดาชื่อ ไฮซิ่ว มารดาชื่อ "คำนวล"
บิดา-มารดา มีอาชีพค้าายในตลาดวโรรส โดยเปิดร้านขายเครื่อง "สังฆภัณฑ์"
ครอบครัวสนิท ศ. เป็นครอบครัวที่เคร่งครัดและเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างมาก
สนิท ศ. เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนจีน "ฮั่วเอง" และ โรงเรียน "คำเที่ยง
อนุสรณ์" จากนั้นจึงย้ายไปศึกษาต่อชั้นประถมปีที่ 4 และชั้นมัธยมปีที่ 1
ที่โรงเรียน "ปริ๊นสรอย" แล้วไปศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมปีที่
6 ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ในรุ่นพิเศษที่เรียกกันว่า "รุ่นโตโจ"
คือเป็นในระยะระหว่างเวลาสงครามโลกครั้งที่ 2
มีการอนุมัติพิเศษจากกระทรวงศึกษาธิการให้ไม่ต้องสอบไล่โดยถือว่าสอบได้ชั้นมัธยมปีที่
6 ยกชั้นทั้งห้อง
สนิท ศ. มีความปรารถนาที่จะศึกษาต่อในโรงเรียนเพาะช่าง
หรือสถาปัตย์แต่ไม่มีทุนที่จะเรียนต่อ
จึงหันเหชีวิตไปเป็นครูอยู่ในโรงเรียนราษฎร์ที่มีชื่อว่า โรงเรียน
"บูรณศิลป์"
สอนอยู่ได้เพียงเทอมเดียวก็เข้าทำงานเป็นพนักงานธนาคารออมสินจนได้เป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน
สาขาป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นสาขาแรกที่เปิดสาขาในภาคเหนือ
นอกจากที่จังหวัดเชียงใหม่ เสมียนและพนักงานบริการในสมัยที่สนิท ศ.
เป็นผู้จัดการในครั้งนั้น ปัจจุบันในขณะนี้เป็นถึงรองหัวหน้าฝ่ายธนาคารออมสิน
และผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาเชียงใหม่ ตามลำดับ
ต่อมา สนิท ศ. ได้ลาออกจากธนาคารออมสิน สาขาป่าซาง
และได้ไปทำงานที่โรงเพิมพ์พุทธนิคม เชียงใหม่
โดยทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสารชาวพุทธ สนิท ศ.
รักงานหนังสือพิมพ์มาก เคยเป็นผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย
และสยามนิกร ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เคยเป็นบรรณาธิการนิตยสารนิราสเสียงเวฬุวัน
และธรรมมาธิตสาร เพราะนใจในพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
เคยช่วยงานหนังสือพิมพ์แสงอรุณ, ชาวเหนือ และหนังสือพิมพ์คนเมืองรายสัปดาห์
ซึ่งคุณสงัด บรรจงศิลป์ เป็นบรรณาธิการ
สนิท ศ. ได้กลับเข้าทำงานในธนาครออมสิน
สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2503
โดยประจำอยู่กองโฆษณาการของธนาคารออมสิน
มีหน้าที่เขียนเพลงให้วงดนตรีของธนาคารออมสิน ซึ่งมีสมาน กาญจนผลิน และเล็ก
ชอุ่มงาม หัวหน้าวง และผู้อำนวยเพลง
สนิท ศ. ชอบการร้องเพลงและดนตรีมาแต่เด็ก
เคยหนีเรียนวิชาลูกคิดไปแอบดูนักเรียนชั้นที่สูงกว่าเรียนวิชาดนตรีและชอบแอบไปเล่นออกแกนในห้องประชุมของโรงเรียน
"ฮั่วเอง" เสมอ
สนิท ศ. เริ่มหัดแต่งบทกวี เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 3
ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และหัดแต่งเพลงเอง เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 4
พ.ศ.2483 เพลงแรกที่แต่งคือเพลง "ฟ้าจันทร์ฉันเธอ"
เพลงที่แต่งไว้ทั้งหมดมีมากกว่า 1,000 เพลง เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับ สนิท
ศ. มากที่สุดคือเพลง "ไม่รักพี่แล้วจะรักใคร" ซึ่งแต่งให้ "นิทัศน์
ละอองศรี" และ "ศรีสุดา เริงใจ" ขับร้อง เพลงที่สนิท ศ.
ภูมิใจมากที่สุดคือเพลง "ทำดีได้ดี-ทำชั่วได้ชั่ว" ซึ่งเอมอร วิเศษสุด
และนิทัศน์ ละอองศรี เป็นผู้ขับร้อง
เพลงชุดที่ใช้ความพยายามและความศรัทธาอย่างแรงกล้าโดยใช้เวลาในการประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองนานถึง
3 ปี คือเพลงชุด "พุทธประวัติ"
ซึ่งเป็นเพลงชุดที่ใช้วิธีการประพันธ์ที่งดงามที่สุด ชื่อเพลงทั้ง 24
เพลงสัมผัสกันหมด และเนื้อเพลงทั้ง 24
เพลงที่มีการสัมผัสคำและต่อเนื้อเพลงต่อเพลงที่มีความสัมผัสความต่อเนื่องอย่างพิศดาร
เล่าเรื่องราวเป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องกันเป็นเรื่องราวตั้งแต่ประสูตร
ตรัสรู้ จนถึงปรินิพพาน ร้อยกรองเป็นเพลงที่มีความยาวถึง 24 เพลง
ซึ่งยากที่จะหานักประพันธ์เพลงคนใดในโลกที่จะทำได้อย่าง สนิท ศ.
ได้อำลาจากโลกนี้พร้อมกับทิ้งผลงานอันเป็นอมตะไว้มากมายเมื่อวันที่ 16
ธันวาคม 2528 ด้วยโรคมะเร็งในลำไส้ อายุรวม 61 ปี
ผู้ส่ง
: ไวโอลิน |