17 ม.ค. 2568
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
|
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
|
|
|
|
หญิง) คนธรรพ์บรรเลงเพลงพิณ
ดีดดิ้นพรายพลิ้วเบาเบา
วิเวกวังเวงเปลี่ยวเปล่า
ชวนเศร้าชวนฝัน
ชาย) ฟากฟ้าและดินห่างกันแสนไกล
อากาศไซร้เป็นกำแพงขวางกั้น
นางอยู่สูงสุดมุ่งแนบขวัญ
ข้านี้ต่ำสุดหมายมั่นยึดถือ
ข้าน้อยคอยแต่ชะแง้หา
อนิจจาจะไขว่จะคว้าได้หรือ
สิ่งเดียวเท่านี้ที่เป็นสื่อ
สิ่งนั้นคือทิพย์ดนตรีจากใจ
หญิง) สุดาฟ้าได้ยินเพลงพิณทิพย์คนธรรพ์
หลงรักฉับพลัน หลงรักฉับพลันทันใด
แต่เมื่อเสียงพิณสิ้นไป
นางไซร้สิ้นรักผูกพัน
สิ่งที่นางรักคือเสียงจำเรียงขับกล่อมเท่านั้น
มิใช่รักตัวคนธรรพ์ ศักดิ์ชั้นห่างกันฟ้าดิน
ชาย) อกเอ๋ยสร้างรักและอารมณ์
เพื่อคนอื่นชื่นชมอาจิณ
ส่วนตัวนั้นหนาอย่าถวิล
นี่แหละคือศิลปินเราเอย |
เนื้อเพลงในห้องบทเพลงได้รับความอนุเคราะห์จากสมาชิกที่รักในบทเพลงสุนทราภรณ์
ข้อมูลผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองล้วนได้มาจากการบอกกล่าว ข้อมูลอาจไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อน หากท่านพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดแจ้งได้ที่
websuntaraporn@gmail.com หรือที่
นิมิตสววรค์
บ้านคนรักสุนทราภรณ์ www.websuntaraporn.com
© เอื้อเฟื้อโดย... ไวโอลิน / เทพกร บวรศิลป์
ผู้ขับร้อง :
วินัย จุลละบุษปะ-มัณฑนา โมรากุล
, วินัย จุลละบุษปะ-ชวลี ช่วงวิทย์
, วินัย จุลละบุษปะ-บุษยา รังสี
, สุรพล วันประเสริฐ-รวงทอง ทองลั่นธม
ลำนำเพลง
คลิกที่นี่
เกร็ดเพลง
1. เพลงนี้ไม่มีการบันทึกเสียง
2. มีแต่ที่บันทึกการขับร้องสดไว้ ซึ่งมีการขับร้องไว้หลายคน
3. เพลงนี้ให้ข้อคิดว่า คนฟังเพลง ไม่ได้รักที่ตัวนักดนตรี แต่รักดนตรีที่นักดนตรีเล่น
4. สุนทราภรณ์ ยังเคยกล่าวไว้ว่า "นักดนตรีมีเสน่ห์ แต่อาภัพ"
ไวโอลิน / เทพกร บวรศิลป์
© Original version sang by Vinai and Montana.
New version sang by Vinai and Busaya.
I have a original version record but the sound has a lot of static. I received recently a new version from my best friend. I am so happy because I am very fond of this song. All of Suntaraporn's musics and all of singers are fantastic.
preecha@ticnet.com
© เพลงนี้เคยด้ยินจากนักร้องหลายท่านครับ
1.วินัย - มัณฑนา
2.วินัย - ชวลี
3.วินัย - บุษยา
4.รวงทอง - ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ชื่ออะไรจำไม่ได้ครับ
แว่วเสียงเธอ
© มีการบันทึกแผ่นเสียงไว้พี่มัณฑนาร้องกับพี่วินัย
ศยามล
© คำพูดของครูเอื้อเกี่ยวกะนักดนตรี เหมือนในเพลงเลย แต่ก็เป็นคำพูด ที่ทำให้เราสนใจนักดนตรีมากขึ้นด้วย ต่อแต่นี้คงไม่อาภัพมากแล้ว
ป้าแอ๊ด
© จุดสุดท้าย คุณวินัยร้องว่า
" นี่แหละศิลปินเราเอย "
ไม่มีคือครับ
ถูกไหมขอรับ
การ์ฟิลด์
© รู้สึกว่า"บุษยา"จะร้องว่า"ดีดพิณพรายพลิ้วนะคะ"ไม่ใช่"ดีดดิ้น"
วิภา (จันทบุรี)
© เพลงนี้ คุณมัณฑนาเล่าว่า เป็นเพลงคั่นหน้าฉากละครครับ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของละคร ในฉากคุณมัณฑนาจะต้องปีนบันไดขึ้นไปร้องด้วยครับ เพราะเป็นนางฟ้า คุณวินัยก็จะเดินออกมาดีดพิณ โดยครูบิลลี่ จะดีดกีตาร์แทนอยู่ข้างหลังครับ รู้สึกว่าจะร้องที่เฉลิมไทยนะครับ (ไม่เช่นนั้นก็โอเดียน)
ศศิธรารัตน์
© เคยฟังเวอร์ชั่นคุณวินัย - บุษยา เพราะมาก
ต้องตา
© ฉบับวินัย - บุษยา บันทึกจากการขับร้องสด ในรายการ 30 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ พ.ศ.2512 ครั้งนั้นคุณโฉมฉาย อรุณฉาน แสดงเป็นนางฟ้า คู่กับ กวิน บันลือ อดีตนักร้องวงสุนทราภรณ์และวงธนิตสรณ์ นับเป็นครั้งแรกของเธอที่ได้ออกโทรทัศน์
การ์ฟิลด์
© เพลงนี้เดิมชื่อว่า "เดือนค้างฟ้า" มัณฑนาร้องเดี่ยว และต่อมาก็มีการเพิ่มเนื้อร้องสำหรับฝ่ายชายอย่างที่เป็นเพลง"คนธรรพ์กับพิณทิพย์"ในปัจจุบัน โดยครั้งแรกมัณฑนาร้องคู่กับล้วน ควันธรรม เมื่อล้วนลาออกก็ร้องคู่กับวินัย ก่อนที่จะอัดลงแผ่นเป็นฉบับวินัยกับชวลี โดยเพลงนี้เป็นเพลงใช้ร้องสลับบนเวทีศาลาเฉลิมไทยในละครเรื่องจอมทัพมฤตยู ในประมาณพ.ศ.2492
ศุภวัทน์ แพ่งอ่ำ
© จากคำบอกเล่าของ มัณฑนา โมรากุล ว่าในปี พ.ศ. 2492 โรงละครศาลาเฉลิมไทย กำลังแสดงละครเรื่อง จอมภพมฤตยู ของสุวัฒน์ วรดิลก โดยมี ส. อาสนจินดา และสุพรรณ บูรณะพิมพ์ เป็นผู้แสดงนำ เพลงคนธรรพ์กับพิณทิพย์ถูกสร้างเป็นจินตลีลา เป็นการแสดงดนตรี 1 ชม. ก่อนการแสดงละครจอมภพมฤตยู เพลงนี้คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกแบบฉาก เวลาขับร้อง มัณฑนา โมรากุล จะต้องปีนบันไดขึ้นไปร้องกับฉากบันก้อนเมฆ แต่งตัวเป็นนางฟ้า ส่วนวินัย จุลบุษปะ ก็จะเดินถือพิณ ทำท่าดีดพิณอยู่บนพื้นเวที
ศุภวัทน์ แพ่งอ่ำ
เชิญส่งเกร็ดเกี่ยวกับเพลงคนธรรพ์กับพิณทิพย์